ผลการศึกษาการใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ในแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
อภิปรายผลการศึกษา(Discussion)
กระบวนการหายของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burn wound healing)เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน สามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายระยะ ประกอบด้วย ระยะการอักเสบของบาดแผล(Inflammation) ,ระยะการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) และระยะปรับรูปร่างชั้นเนื้อเยื่อ(tissue remodeling) (Sünstar et al.,2011) ในการศึกษาครั้งนี้ในแต่ละระยะได้ถูกติดตามและสังเกตการณ์เพื่อประเมินผลในกระบวนการหายของแผล (wound healing) ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในกระบวนการหายของแผล (wound healing) หรือ การสมานแผล อีกทั้งลดระยะเวลาในการฟื้นฟูบาดแผลสู่สภาพปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ
ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ถูกทำขึ้นตามหลักการแพทย์แผนจีนโบราณ และการแพทย์แผนจีนโบราณเฉพาะท้องถิ่น ที่สารสกัดนั้นก็ได้ถูกใช้ทางคลินิกในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิผลที่แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะผลต่อแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burns),แผลกดทับ(pressure ulcers) ,แผลปากมดลูก หรือปากมดลูกกร่อน(cervical erosion),งูสวัด(herpes zoster) และแผลเปื่อยเรื้อรัง(chronic ulcers) (Li et al.,2011) ในเชิงทฤษฏีสมุนไพรจีน ปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรซึ่งอาจมีฤทธิ์ไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยเสริมฤทธิ์กันได้(Fan et al.,2010) สมุนไพรจีนห้าชนิดที่เป็นส่วนประกอบในสูตรยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (crocodile oil burn ointment: COBO) มีฤทธิ์ทางยา ดังนี้ Arnebia euchroma I.M.Johnst. เป็นยาลดฤทธิ์ร้อน ที่มีผลในการฆ่าเชื้อ,ลดฤทธิ์ร้อน และขับล้างพิษ, Astragalus membranaceu Moench มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดอาการบวมน้ำ, Savia miltiorrhiza Bunge มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวบาดแผล , Sanguisorba officinalis L. มีฤทธิ์ค่อนข้างเย็น ลดร้อนและเพิ่มรสเปรี้ยวในความฝาด และ และ Borneolum syntheticum สามารถเพิ่มการกระจายตัวของสื่อกลางสารสู่ชั้นผิว นอกจากนี้น้ำมันจระเข้จากจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย(Crocodylus Siamnensis) มีความสามารถในการสมานแผลและลดการเกิดรอยแผลเป็นในหนูทดลอง(Li et al.,2012) ด้วยเหตุนี้ ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) จึงเป็นยาสมุนไพรที่ประกอบขึ้นจากส่วนผสมต่างๆ ให้ผลทางด้านการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นหลัก อันเนื่องมาจากคุณสมบัติด้านการฆ่าเชื้อ, ลดอาการอักเสบ ,กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทดแทนเนื้อเยื่อเดิมที่เสียหายไป จากคุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมานี้คาดการณ์ได้ว่ายาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาจมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ pro -inflammatory cytokine** และลดอาการบวมได้ ในขณะเดียวกันยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาจช่วยกระตุ้นการแสดงออกและการหลั่งสารเร่งการเจริญเติบโต หรือ โกรทแฟคเตอร์ (growth factor) ในบริเวณบาดแผล,เร่งกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์(cell proliferation) และการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อในชั้นผิวใหม่ เพื่อกระตุ้นกระบวนการสมานแผล
(**pro -inflammatory cytokine คือ cytokines ที่ไม่หลั่งในภาวะปกติแต่จะหลั่งออกมาในภาวะที่มีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากหลั่งออกมาในปริมาณที่ไม่มากซึ่งทำให้เกิดการชุมนุมและการกระตุ้นของเม็ดเลือดขาว, การเหนี่ยวนำให้เกิด antibodies และ cytotoxic T cells เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ในทางกลับกันหากมี pro-inflammatory cytokines เหล่านี้มากเกินไปในร่างกายอาจเกิดอันตรายซึ่งนำไปสู่การเกิด septic shock และเสียชีวิตในที่สุด)
กระบวนการหายของแผล(wound healing)เป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความซับซ้อนทางชีวภาพเป็นอย่างมากในช่วงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ความสามารถในการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บและซ่อมแซมเนื้อเยื่อเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์(Singer and Clark,1999) ระยะการสร้างเนื้อเยื่อใหม่จะปรากฏขึ้นประมาณ 2-10 วันหลังเกิดบาดแผล เกิดการแบ่งตัวของเซลล์(cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ในแต่ละประเภท(Gunthur et al.,2008) ไมโอไฟโบรบลาสท์ (myofibroblast) ซึ่งป็นไฟโบรบลาสท์พิเศษ อยู่บริเวณของแผล และกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อชั้นผิวใหม่(re-epithalization) ร่วมกันทำให้เกิดการหดตัวของบาดแผล (Lin et al.,1995) ผลจากการมองเห็นด้วยตาเปล่าแสดงให้เห็นว่ากระบวนการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) ในบาดแผลกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้น ถูกเร่งกระบวนการขึ้นในช่วงเวลา 10 วันแรกหลังเกิดอาการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(control group) พบว่าแผลปิดได้เร็วกว่าในกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) เพราะฉะนั้น ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ไมโอไฟโบรบลาสท์ และกระบวนการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) เพื่อฟื้นฟูบาดแผลให้เป็นปกติ
ผิวหนังทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาแก่ร่างกายอย่างมากมาย อาทิเช่น ป้องกัน,รับความรู้สึก,กำกับความร้อนในร่างกาย,ควบคุมการระเหย และอื่นๆอีกมากมาย(Madison,2003,Proksch et al. 2008,Stucker et al.,2002)รูขุมขนเป็นอวัยวะขนาดเล็กที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีความน่าอัศจรรย์ มีบทบาทสำคัญในทางสรีรวิทยาต่อผิวหนัง (Muntener et al.,2011) กระบวนการหายของแผล(wound healing) รูขุมขนเป็นเพียงส่วนน้อยในบรรดาประชากรเซลล์ต้นกำเนิดที่หลากหลาย แต่เป็นแหล่งสำคัญของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเส้นผม(hairs),ต่อมไขมัน(sebaceous gland)และชั้นหนังกำพร้า(epidermis) (Joachimiak et al.,2012) แผลที่บริเวณผิวหนังหลงเหลือตอหรือส่วนโคนของรูขุมขนที่เสียหายไม่มากนัก ซึ่งการสนับสนุนกระบวนการการสมานแผลมาจากเศษเล็กเศษน้อยของรูขุมขนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ (Martin 1997) โดยเมื่อรูขุมขนเหล่านั้นพัฒนาขึ้นในบริเวณแผลจะสามารถเผยให้เห็นถึงสภาวะการสร้างเซลล์ขึ้นใหม่ ในการศึกษานี้ พบว่ารูขุมขนมีการจัดเรียงและกระจายตัวที่เป็นระเบียบ ในวันที่ 28 หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกของกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) มากกว่าในกลุ่มควบคุม(control group) และ กลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน(SSD) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชั้นผิวหนังมีสภาวะการสร้างเซลล์ขึ้นใหม่อย่างดีในกลุ่มที่รักษาด้วยยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ที่อาจกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดของรูขุมขนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิวเพื่อสมานแผล
ชั้นผิวหนาบางส่วนของบาดแผลยังคงทิ้งส่วนรากของรูขุมขนที่ยังสามารถทำงานได้ ซึ่งช่วยสนับสนุนการสมานผิวในเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนนอก(epidermis)ดังนั้นการเจริญของรูขุมขนเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิว(Rochat et al.,1994) ในการศึกษานี้รูขุมขนที่ยังสามารถเจริญได้ มีการจัดเรียงและกระจายตัวได้ดีในชั้นผิวของกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงในทางที่ดีต่อกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิว เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ การย้อมติดสีแดงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(connective tissue)ซึ่งมีปลอกหุ้ม ของรูขุมขนในการย้อมสีด้วยเทคนิค Sacpic Staining เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่ารูขุมขนเหล่านี้มีการดำเนินกิจกรรมการแบ่งตัว(dividing)และ การเปลี่ยนสภาพ(differentiating) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้มีลักษณะเฉพาะ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเซลล์และเนื้อเยื่อ อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือลักษณะทางเคมีของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ
อาการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกกระตุ้นเหตุการณ์ต่อเนื่องทางสรีรวิทยาที่บริเวณแผล ประกอบด้วย การอักเสบและความเจ็บปวดตามมาด้วยการสร้างชั้นเซลล์ผิวใหม่ในเวลาไม่กี่วันต่อมา (Feng et al.,2010,Martin and Leibovich,2005) ฤทธิ์แก้ปวด(antinociceptive) และ ผลต่อการต้านอาการอักเสบ(anti-inflammatory) ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้นได้ถูกตรวจสอบด้วยการใช้กรดอะซิติกกระตุ้นอาการชักดิ้นชักงอในหนูทดลอง(Acetic-Acid-induced writhing response in mice) และ การใช้ไซลีนที่ใช้ในการกระตุ้นอาการใบหูบวมอักเสบในหนูไมซ์ (xylene-induced ear swelling in mice) ตามลำดับ ในการศึกษานี้ อาการชักดิ้นชักงอและการลดอาการอักเสบของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ดีกว่าในกลุ่มควบคุม(control group) ที่ให้ผลใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับกลุ่มที่ใช้ยามีโบ(MEBO)
ส่วนประกอบสำคัญในการออกฤทธิ์ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาทิเช่น น้ำมันจระเข้(crocodile oil) และพิมเสน(Borneolum syntheticum) มีความสามารถในการป้องกันการอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นผลจากการทดสอบที่คาดหมายได้ว่ายาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) มีความโดดเด่นในด้านฤทธิ์แก้ปวด(antinociceptive) และ ผลในการต้านอาการอักเสบ(anti-inflammatory) ซึ่งช่วยกระตุ้นกระบวนการหายของแผล(wound healing)
กระบวนการหายของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burn wound healing)เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน สามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายระยะ ประกอบด้วย ระยะการอักเสบของบาดแผล(Inflammation) ,ระยะการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) และระยะปรับรูปร่างชั้นเนื้อเยื่อ(tissue remodeling) (Sünstar et al.,2011) ในการศึกษาครั้งนี้ในแต่ละระยะได้ถูกติดตามและสังเกตการณ์เพื่อประเมินผลในกระบวนการหายของแผล (wound healing) ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในกระบวนการหายของแผล (wound healing) หรือ การสมานแผล อีกทั้งลดระยะเวลาในการฟื้นฟูบาดแผลสู่สภาพปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ
ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ถูกทำขึ้นตามหลักการแพทย์แผนจีนโบราณ และการแพทย์แผนจีนโบราณเฉพาะท้องถิ่น ที่สารสกัดนั้นก็ได้ถูกใช้ทางคลินิกในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิผลที่แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะผลต่อแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burns),แผลกดทับ(pressure ulcers) ,แผลปากมดลูก หรือปากมดลูกกร่อน(cervical erosion),งูสวัด(herpes zoster) และแผลเปื่อยเรื้อรัง(chronic ulcers) (Li et al.,2011) ในเชิงทฤษฏีสมุนไพรจีน ปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรซึ่งอาจมีฤทธิ์ไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยเสริมฤทธิ์กันได้(Fan et al.,2010) สมุนไพรจีนห้าชนิดที่เป็นส่วนประกอบในสูตรยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (crocodile oil burn ointment: COBO) มีฤทธิ์ทางยา ดังนี้ Arnebia euchroma I.M.Johnst. เป็นยาลดฤทธิ์ร้อน ที่มีผลในการฆ่าเชื้อ,ลดฤทธิ์ร้อน และขับล้างพิษ, Astragalus membranaceu Moench มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดอาการบวมน้ำ, Savia miltiorrhiza Bunge มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวบาดแผล , Sanguisorba officinalis L. มีฤทธิ์ค่อนข้างเย็น ลดร้อนและเพิ่มรสเปรี้ยวในความฝาด และ และ Borneolum syntheticum สามารถเพิ่มการกระจายตัวของสื่อกลางสารสู่ชั้นผิว นอกจากนี้น้ำมันจระเข้จากจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย(Crocodylus Siamnensis) มีความสามารถในการสมานแผลและลดการเกิดรอยแผลเป็นในหนูทดลอง(Li et al.,2012) ด้วยเหตุนี้ ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) จึงเป็นยาสมุนไพรที่ประกอบขึ้นจากส่วนผสมต่างๆ ให้ผลทางด้านการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นหลัก อันเนื่องมาจากคุณสมบัติด้านการฆ่าเชื้อ, ลดอาการอักเสบ ,กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทดแทนเนื้อเยื่อเดิมที่เสียหายไป จากคุณสมบัติต่างๆที่กล่าวมานี้คาดการณ์ได้ว่ายาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาจมีฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ pro -inflammatory cytokine** และลดอาการบวมได้ ในขณะเดียวกันยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาจช่วยกระตุ้นการแสดงออกและการหลั่งสารเร่งการเจริญเติบโต หรือ โกรทแฟคเตอร์ (growth factor) ในบริเวณบาดแผล,เร่งกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์(cell proliferation) และการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อในชั้นผิวใหม่ เพื่อกระตุ้นกระบวนการสมานแผล
(**pro -inflammatory cytokine คือ cytokines ที่ไม่หลั่งในภาวะปกติแต่จะหลั่งออกมาในภาวะที่มีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากหลั่งออกมาในปริมาณที่ไม่มากซึ่งทำให้เกิดการชุมนุมและการกระตุ้นของเม็ดเลือดขาว, การเหนี่ยวนำให้เกิด antibodies และ cytotoxic T cells เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ในทางกลับกันหากมี pro-inflammatory cytokines เหล่านี้มากเกินไปในร่างกายอาจเกิดอันตรายซึ่งนำไปสู่การเกิด septic shock และเสียชีวิตในที่สุด)
กระบวนการหายของแผล(wound healing)เป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความซับซ้อนทางชีวภาพเป็นอย่างมากในช่วงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ความสามารถในการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บและซ่อมแซมเนื้อเยื่อเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์(Singer and Clark,1999) ระยะการสร้างเนื้อเยื่อใหม่จะปรากฏขึ้นประมาณ 2-10 วันหลังเกิดบาดแผล เกิดการแบ่งตัวของเซลล์(cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ในแต่ละประเภท(Gunthur et al.,2008) ไมโอไฟโบรบลาสท์ (myofibroblast) ซึ่งป็นไฟโบรบลาสท์พิเศษ อยู่บริเวณของแผล และกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อชั้นผิวใหม่(re-epithalization) ร่วมกันทำให้เกิดการหดตัวของบาดแผล (Lin et al.,1995) ผลจากการมองเห็นด้วยตาเปล่าแสดงให้เห็นว่ากระบวนการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) ในบาดแผลกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้น ถูกเร่งกระบวนการขึ้นในช่วงเวลา 10 วันแรกหลังเกิดอาการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(control group) พบว่าแผลปิดได้เร็วกว่าในกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) เพราะฉะนั้น ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ไมโอไฟโบรบลาสท์ และกระบวนการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) เพื่อฟื้นฟูบาดแผลให้เป็นปกติ
ผิวหนังทำหน้าที่ทางสรีรวิทยาแก่ร่างกายอย่างมากมาย อาทิเช่น ป้องกัน,รับความรู้สึก,กำกับความร้อนในร่างกาย,ควบคุมการระเหย และอื่นๆอีกมากมาย(Madison,2003,Proksch et al. 2008,Stucker et al.,2002)รูขุมขนเป็นอวัยวะขนาดเล็กที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีความน่าอัศจรรย์ มีบทบาทสำคัญในทางสรีรวิทยาต่อผิวหนัง (Muntener et al.,2011) กระบวนการหายของแผล(wound healing) รูขุมขนเป็นเพียงส่วนน้อยในบรรดาประชากรเซลล์ต้นกำเนิดที่หลากหลาย แต่เป็นแหล่งสำคัญของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเส้นผม(hairs),ต่อมไขมัน(sebaceous gland)และชั้นหนังกำพร้า(epidermis) (Joachimiak et al.,2012) แผลที่บริเวณผิวหนังหลงเหลือตอหรือส่วนโคนของรูขุมขนที่เสียหายไม่มากนัก ซึ่งการสนับสนุนกระบวนการการสมานแผลมาจากเศษเล็กเศษน้อยของรูขุมขนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ (Martin 1997) โดยเมื่อรูขุมขนเหล่านั้นพัฒนาขึ้นในบริเวณแผลจะสามารถเผยให้เห็นถึงสภาวะการสร้างเซลล์ขึ้นใหม่ ในการศึกษานี้ พบว่ารูขุมขนมีการจัดเรียงและกระจายตัวที่เป็นระเบียบ ในวันที่ 28 หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกของกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) มากกว่าในกลุ่มควบคุม(control group) และ กลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน(SSD) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชั้นผิวหนังมีสภาวะการสร้างเซลล์ขึ้นใหม่อย่างดีในกลุ่มที่รักษาด้วยยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ที่อาจกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดของรูขุมขนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิวเพื่อสมานแผล
ชั้นผิวหนาบางส่วนของบาดแผลยังคงทิ้งส่วนรากของรูขุมขนที่ยังสามารถทำงานได้ ซึ่งช่วยสนับสนุนการสมานผิวในเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนนอก(epidermis)ดังนั้นการเจริญของรูขุมขนเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิว(Rochat et al.,1994) ในการศึกษานี้รูขุมขนที่ยังสามารถเจริญได้ มีการจัดเรียงและกระจายตัวได้ดีในชั้นผิวของกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงในทางที่ดีต่อกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ผิว เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ การย้อมติดสีแดงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(connective tissue)ซึ่งมีปลอกหุ้ม ของรูขุมขนในการย้อมสีด้วยเทคนิค Sacpic Staining เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่ารูขุมขนเหล่านี้มีการดำเนินกิจกรรมการแบ่งตัว(dividing)และ การเปลี่ยนสภาพ(differentiating) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้มีลักษณะเฉพาะ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเซลล์และเนื้อเยื่อ อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือลักษณะทางเคมีของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ
อาการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกกระตุ้นเหตุการณ์ต่อเนื่องทางสรีรวิทยาที่บริเวณแผล ประกอบด้วย การอักเสบและความเจ็บปวดตามมาด้วยการสร้างชั้นเซลล์ผิวใหม่ในเวลาไม่กี่วันต่อมา (Feng et al.,2010,Martin and Leibovich,2005) ฤทธิ์แก้ปวด(antinociceptive) และ ผลต่อการต้านอาการอักเสบ(anti-inflammatory) ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้นได้ถูกตรวจสอบด้วยการใช้กรดอะซิติกกระตุ้นอาการชักดิ้นชักงอในหนูทดลอง(Acetic-Acid-induced writhing response in mice) และ การใช้ไซลีนที่ใช้ในการกระตุ้นอาการใบหูบวมอักเสบในหนูไมซ์ (xylene-induced ear swelling in mice) ตามลำดับ ในการศึกษานี้ อาการชักดิ้นชักงอและการลดอาการอักเสบของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ดีกว่าในกลุ่มควบคุม(control group) ที่ให้ผลใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับกลุ่มที่ใช้ยามีโบ(MEBO)
ส่วนประกอบสำคัญในการออกฤทธิ์ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) อาทิเช่น น้ำมันจระเข้(crocodile oil) และพิมเสน(Borneolum syntheticum) มีความสามารถในการป้องกันการอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นผลจากการทดสอบที่คาดหมายได้ว่ายาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) มีความโดดเด่นในด้านฤทธิ์แก้ปวด(antinociceptive) และ ผลในการต้านอาการอักเสบ(anti-inflammatory) ซึ่งช่วยกระตุ้นกระบวนการหายของแผล(wound healing)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น