การประเมินการดำเนินกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขนในวันที่ 28 จากการตัดเนื้อเยื่อบริเวณส่วนหลังของหนูทดลอง หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72.
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ(quantitative analysis) แสดงจำนวนรูขุมขนทั้งหมด(Total follicles)และจำนวนรูขุมขนที่กำลังแสดงกิจกรรมในชั้นผิว(active follicles) ของวันที่ 28 จากตัวอย่างกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้(COBO) ซึ่งมีความใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับกลุ่มหลอก(Normal group/Sham group) และเมื่อนำไปเทียบกับกลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน(SSD) พบว่าจำนวนรูขุมขนทั้งหมด(Total follicles)นั้นสูงกว่า และ จำนวนรูขุมขนที่กำลังแสดงกิจกรรมในชั้นผิว(active follicles) สูงกว่าถึง 75% และ 67% ตามลำดับ ตามภาพประกอบหมายเลข 6a ในขณะที่จำนวนของรูขุมขนปฐมภูมิและทุติยภูมิ(primary and secondary follicles) สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(burn control) ถึง 75% และ 50% ตามลำดับ ตามภาพประกอบหมายเลข 6b,6c
ภาพประกอบหมายเลข 6 การประเมินการดำเนินกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขนในวันที่ 28 จากการตัดเนื้อเยื่อบริเวณส่วนหลังของหนูทดลอง หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ระบุข้อมูลเชิงปริมาณจากตัวอย่างที่ถูกย้อมสีด้วยเทคนิค Sacpic รูขุมขนที่กำลังแสดงกิจกรรม(active follicles)จะติดสีแดง (a)จำนวนรูขุมขนทั้งหมดหรือจำนวนรูขุมขน(total follicles)ที่กำลังแสดงกิจกรรมในชั้นผิว(active follicles) ,(b) รูขุมขนปฐมภูมิ หรือ primary follicles (c) รูขุมขนทุติยภูมิ หรือ secondary follicles
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น