ฤทธิ์แก้ปวด(Antinociceptive)ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)

การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ 
เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72.

ฤทธิ์แก้ปวด(Antinociceptive)ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)
การใช้กรดอะซิติกกระตุ้นอาการชักดิ้นชักงอในหนูทดลอง(Acetic-Acid-induced writhing response in mice) ถูกใช้เพื่อประเมินฤทธิ์แก้ปวด หรือบรรเทาอาการเจ็บปวดของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ผลการทดสอบในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ผลการควบคุม และยับยั้งอาการเจ็บปวดในยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้นขึ้นกับขนาดของยา(dose-dependent) ผลทดสอบด้วยการฉีดกรดอะซิติกเข้าที่บริเวณช่องท้องในหนูไมซ์นั้นพบอัตราการยับยั้งอาการเจ็บปวดที่ 24.6%,41.3% และ 48.6% ตามลำดับ อีกทั้งกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ช่วยยืดระยะเวลาในการเกิดอาการชักดิ้นชักงอครั้งแรก โดยพบอัตราการยับยั้งอาการเจ็บปวดที่สูงกว่า 84.4% ที่ขนาดยา 0.3g/20g เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยามีโบ(MEBO) ซึ่งพบอัตราการยับยั้งอาการเจ็บปวดที่ 78.1%


ฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ(Anti-inflammatory)ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) 
ผลการทดสอบในตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่ายาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) มีผลกดฤทธิ์ของไซลีนที่ใช้ในการกระตุ้นอาการใบหูบวมอักเสบในหนูไมซ์ (xylene-induced ear swelling in mice) ทั้งนี้ผลของการออกฤทธิ์นั้นขึ้นกับขนาดยา เมื่อพิจารณาการใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ที่ขนาดยา 0.3g/20g ผลในการยับยั้งไซลีนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผลจากการใช้ยามีโบ(MEBO)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง

การสกัดน้ำมันสัตว์:การเจียว(Rendering)

น้ำมันจระเข้ คนจีนชอบใช้ แต่ไม่ใช่ทุกจีนที่จะรู้จัก?