บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT

รูปภาพ
การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)สามารถเร่งกระบวนการหายของแผล(wound healing) ของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับสองในหนูทดลอง,กระตุ้นกระบวนการสร้างชั้นเซลล์ผิวใหม่(skin regeneration) และการเจริญของรูขุมขน(hair follicles) อีกทั้งยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ยังมีฤทธิ์แก้ปวด(antinociceptive) และ ต้านอาการอักเสบ(anti-inflammatory) อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติมต่อไปถึงกลไกในกระบวนการซ่อมแซมและการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical research) ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)

ผลการศึกษาการใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ในแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

อภิปรายผลการศึกษา(Discussion) กระบวนการหายของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burn wound healing)เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน สามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายระยะ ประกอบด้วย ระยะการอักเสบของบาดแผล(Inflammation) ,ระยะการสร้างชั้นเนื้อเยื่อผิวใหม่(re-epithalization) และระยะปรับรูปร่างชั้นเนื้อเยื่อ(tissue remodeling) (Sünstar et al.,2011) ในการศึกษาครั้งนี้ในแต่ละระยะได้ถูกติดตามและสังเกตการณ์เพื่อประเมินผลในกระบวนการหายของแผล (wound healing)  ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในกระบวนการหายของแผล (wound healing) หรือ การสมานแผล อีกทั้งลดระยะเวลาในการฟื้นฟูบาดแผลสู่สภาพปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ถูกทำขึ้นตามหลักการแพทย์แผนจีนโบราณ และการแพทย์แผนจีนโบราณเฉพาะท้องถิ่น ที่สารสกัดนั้นก็ได้ถูกใช้ทางคลินิกในท้องถิ่นอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิผลที่แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะผลต่อแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(burns),แผลกดทับ(pressure ulcers) ,แผลปากมดลูก หรือปากมดลูกกร่อน(cervical erosion),งูสวัด(her...

ฤทธิ์แก้ปวด(Antinociceptive)ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)

การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ  เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. ฤทธิ์แก้ปวด(Antinociceptive)ของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) การใช้กรดอะซิติกกระตุ้นอาการชักดิ้นชักงอในหนูทดลอง(Acetic-Acid-induced writhing response in mice) ถูกใช้เพื่อประเมินฤทธิ์แก้ปวด หรือบรรเทาอาการเจ็บปวดของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ผลการทดสอบในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ผลการควบคุม และยับยั้งอาการเจ็บปวดในยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) นั้นขึ้นกับขนาดของยา(dose-dependent) ผลทดสอบด้วยการฉีดกรดอะซิติกเข้าที่บริเวณช่องท้องในหนูไมซ์นั้นพบอัตราการยับยั้งอาการเจ็บปวดที่ 24.6%,41.3% และ 48.6% ตามลำดับ อีกทั้งกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ช่วยยืดระยะเวลาในการเกิดอาการชักดิ้นชักงอครั้งแรก โดยพบอัตราการยับยั้งอาการเจ็บปวดที่สูงกว่า 84.4% ที่ข...

การประเมินการดำเนินกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขนในวันที่ 28 จากการตัดเนื้อเยื่อบริเวณส่วนหลังของหนูทดลอง หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

รูปภาพ
การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ(quantitative analysis) แสดงจำนวนรูขุมขนทั้งหมด(Total follicles)และจำนวนรูขุมขนที่กำลังแสดงกิจกรรมในชั้นผิว(active follicles) ของวันที่ 28 จากตัวอย่างกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้(COBO) ซึ่งมีความใกล้เคียงเป็นอย่างมากกับกลุ่มหลอก(Normal group/Sham group) และเมื่อนำไปเทียบกับกลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน(SSD) พบว่าจำนวนรูขุมขนทั้งหมด(Total follicles)นั้นสูงกว่า และ จำนวนรูขุมขนที่กำลังแสดงกิจกรรมในชั้นผิว(active follicles) สูงกว่าถึง 75% และ 67% ตามลำดับ ตามภาพประกอบหมายเลข 6a ในขณะที่จำนวนของรูขุมขนปฐมภูมิและทุติยภูมิ(primary and secondary follicles) สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(burn control) ถึง 75% และ 50% ตามลำดับ ตามภาพประกอบหมายเลข 6b,6c ภาพประกอบหมายเลข 6 การประเมินการดำเนินกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขนในวันที่ 2...

ผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ ต่อกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขน หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

รูปภาพ
ผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (Crocodile oil burn ointment: COBO) ต่อกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขน(hair follicles) ในวันที่ 28 หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ  เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. การกระจายตัวของรูขุมขน(hair follicles) ได้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างชั้นผิว(skin structure) ในการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เพื่อศึกษาต่อไปถึงผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ต่อกิจกรรมและการกระจายตัวของรูขุมขน(hair follicles)หลังเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกนั้น ทำการตัดตัวอย่างตามขวางและย้อมสีด้วยเทคนิคพิเศษ Tetrachrome stain Sacpic ผลแสดงในภาพประกอบหมายเลข 5 การตรวจทางเนื้อเยื่อ(histological examination) ในวันที่ 28 แสดงรูขุมขนปฐมภูมิและทุติยภูมิ(primary and secondary follicles) ในกลุ่มหลอก(sham group)  ตามภาพประกอบหมายเลข 5A,5a ซึ่งมีการจัดเรียงและกระจายตัวที...

ผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ต่อโครงสร้างผิว(skin structure)

รูปภาพ
ผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO)  ต่อโครงสร้างผิว(skin structure) การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ  เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. ณ วันที่ 28 เมื่อการศึกษาสิ้นสุดลง ผิวหนังบริเวณแผลถูกนำออกจากสัตว์ทดลองที่ยังมีชีวิตเพื่อใช้ประเมินผลทางเนื้อเยื่อ ตัวอย่างถูกตัดตามขวางผ่านทางยาวและย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และ อีโอซิน (Eosin) ผลการทดสอบแสดงในภาพประกอบหมายเลข 4  ในกลุ่มหลอก(sham Group) เนื้อเยื่อของผิวหนังชั้นนอกเอพิเดอร์มิส(epidermis) มีความบาง โครงสร้างชั้นผิว(Skin structure)และ การวางตัวของคอลลาเจน (collagen deposition) มีการจัดเรียงและกระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ ตามภาพประกอบหมายเลข 4a  ในกลุ่มควบคุม(burn Control) และในกลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน (SSD) เนื้อเยื่อของผิวหนังชั้นนอกเอพิเดอร์มิส(Epidermis) มีความหนากว่ากลุ่มหลอก(Sham group) และกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร...

Result: ผลการทดลองกระบวนการหายของแผล(wound healing) ด้วยยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้

รูปภาพ
การศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. ภาพถ่ายด้วยเลนส์ออพติคัล ในบริเวณแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่ระยะเวลา 3,7,10,14,21 และ 28 วัน  ในช่วง 3 วันแรก เกิดสะเก็ดแผลสีน้ำตาลขึ้นในบริเวณแผลแต่ไม่สามารถใช้วัดความแตกต่างในแต่ละกลุ่มได้  ตามภาพประกอบหมายเลข 3a,3g และ 3m ภาพประกอบหมายเลข 3 แสดงการหดตัวของบาดแผล(wound Contraction) แผลที่บริเวณส่วนหลังของหนูทดลองถูกถ่ายภาพที่ระยะเวลา 3,7,10,14,21 และ 28 วัน  หลังเริ่มการรักษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม(burn Control) ; a-f , กลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน (SSD) ; g-l, กลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ; m-r ภาพถ่ายแสดงตัวอย่างจากแต่ละกลุ่ม มาตราส่วน 1ซม. การหดตัวของบาดแผล(wound Contraction)แสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์(%) ในแต่ละกลุ่มได้แก่ กลุ่มควบคุม(burn Control),กลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน (SSD) และกลุ่มที่ใช้...

ผลการทดลอง (Results) : EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT

รูปภาพ
EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT  โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. ผลการทดลอง(Results)    ผลของยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) ต่อการรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา(healing time)แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกในกลุ่มที่ใช้ยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้ (COBO) คือ 20.5±1.3 วัน สั้นกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(burn Control) ที่ใช้ระยะเวลา 25.0±2.16 วัน และกลุ่มที่ใช้ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน (SSD) ที่ใช้ระยะเวลา 22.67±1.53 วัน แสดงผลตามภาพประกอบหมายเลข 2  ภาพประกอบหมายเลข 2 แสดงระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา(healing time) แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก หน่วยเป็นวัน รายงานค่าในรูปแบบ mean±SE จากจำนวน 12 แผล เครื่องหมายดอกจันแสดงนัยสำคัญที่แตกต่างกันในทางสถิติ * P < 0.05 ; ** P < 0.01 

การประเมินผลของประสิทธิภาพในยาขี้ผึ้งรักษาบาดแผลแบบใหม่ ด้วยยาขี้ผึ้งแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีส่วนผสมของน้ำมันจระเข้

รูปภาพ
อ้างอิงจากการศึกษาในชื่อ EVALUATION OF EFFECTIVENESS IN A NOVEL WOUND HEALING OINTMENT-CROCODILE OIL BURN OINTMENT โดย Hua-Liang Li. และคณะ เผยแพร่ใน Afr J Tradit Complement Altern Med. 2017; 14(1): 62–72. บทนำ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบว่ามีอุบัติการณ์สูงและแพร่หลายโดยทั่วไป และถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน (Bell et al., 1993, Li et al., 2012). อาการบาดเจ็บจากการเผาไหม้อาจนำไปสู่การเกิดอาการแทรกซ้อน อาทิ การไร้ความสามารถหรือพิการเป็นเวลานาน , การรักษาในโรงพยาบาลที่ยาวนานขึ้น,การสูญเสียอวัยวะส่วนปลาย หรือแม้แต่การเสียชีวิต (Upadhyay et al., 2009). กระบวนการรักษาและซ่อมแซมบาดแผลเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากอาการบาดเจ็บต่อผิวหนัง ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยปฏิกิริยาการอักเสบ ( Inflammatory Response) และเซลล์ใต้ชั้นเดอร์มิส(Dermis) เริ่มกระบวนการสร้างคอลลาเจนมากขึ้น ส่งผลให้เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) ถูกเสริมสร้างขึ้นใหม่ในเวลาต่อมา (Wilgus, 2008) ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าและพัฒนาที่หลากหลาย อันช่วยให้เรามีความเข้าใจและสนใจใน...

การใช้น้ำมันจระเข้ในผลิตภัณฑ์เพิ่มขนาดและเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย

รูปภาพ
การใช้น้ำมันและสารสกัดจากธรรมชาติในผลิตภัณฑ์เพิ่มขนาดและเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันและสารสกัดธรรมชาติในผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ (Penis Enlargement Products) และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย (Male Enhancement & Sexual Stamina Products) สำหรับใช้ทาภายนอกเฉพาะจุด(Topical Application) ทั้งในลักษณะการทาถู นวด และการใช้เพิ่มความหล่อลื่น เป็นทางเล ือกหนึ่งในการเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติ เราอาจเคยได้ยินตัวอย่างการใช้น้ำมันสกัดจากพืชธรรมชาติ(Vegetable oil) หรือน้ำมันสัตว์(Animal oil) ร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันมะกอก(Olive oil) น้ำมันจิ้งเหลน(Skink oil) น้ำมันปลิง (Leech oil) น้ำมันเต่า(Turtle oil) น้ำมันแซนดา (Sanda oil) ที่ได้รับความนิยมในแถบอินเดียและปากีสถาน มีส่วนผสมของน้ำมันฮับบาตุซเซาดะฮ์ (Kalonji หรือ Black Seed Oil), สารสกัดจากโสมอินเดีย (Ashwagandha extract) ร่วมกับสารสกัดจากดอกลำโพง (Datura extract)และน้ำมันมัสตาร์ด(Mustard oil) หรือแม้แต่น้ำมันจระเข้(Crocodile oil) ก็ถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภ...

5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง

รูปภาพ
จากเหตุการณ์ "วันแห่งจู๋" ที่พวกเราได้เห็นจู๋กันตั้งแต่เช้า โฆษณาล้อเลียนภาพหลุดจู๋ ความรู้เรื่องจู๋ ขนาดจู๋ เลเซอร์จู๋ขาว แล้วพวกเราชาวน้ำมันจระเข้จะพลาดกระแสนี้ไปได้อย่างไร?! ขอส่งบทความบำรุงสมองเล็กน้อยด้วยหัวข้อเรื่อง "5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง" การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมันสำหรับเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ (Penis Enlargement Oils) ทาถู นวดเพิ่มความหล่อลื่น เป็นวิถีทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เราอาจเคยได้ยินตัวอย่างการใช้น้ำมันมะกอก(Olive oil) น้ำมันจิ้งเหลน(Skink oil) หรือแม้แต่น้ำมันจระเข้(Crocodile oil) ก็ถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มขนาดอวัยวะเพศและมีจัดจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน ทั้งรูปแบบน้ำมันและครีม แต่วิธีการดังกล่าวยังคงมีคำถามว่าสามารถเห็นผลได้จริงหรือไม่? ลองมาดูคุณสมบัติน้ำมันจากธรรมชาติเพื่อการบำรุงจู๋ 1.น้ำมันมะกอก (Olive oil) น้ำมันมะกอกอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงสารสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ กรดไขมันโอเมก้า โดยในปัจจุบันน้ำมันมะกอกถือว่ามีประโยชน์และปลอดภัยต่อร่างกาย อีกทั้งยังไม่มีข้อโต้แย้งใน...