น้ำมันสกัดจากไขมันจระเข้ ความหวังใหม่ในแหล่งพลังงานสะอาด? เหตุจากไขมันจากแอลลิเกเตอร์อาจใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบใหม่ในการผลิตไบโอดีเซล


น้ำมันสกัดจากไขมันจระเข้ ความหวังใหม่ในแหล่งพลังงานสะอาด? เหตุจากไขมันจากแอลลิเกเตอร์อาจใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบใหม่ในการผลิตไบโอดีเซล 
----------------------------------------------
น้ำมันสกัดจากไขมันแอลลิเกเตอร์ พบว่ามีคุณภาพใกล้เคียงกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลสำหรับไบโอดีเซลที่มีคุณภาพสูง
----------------------------------------------
ไขมันจากสัตว์ อาทิ ไขมันไก่ ไขมันหมู ไขมันวัว ต่างเป็นสิ่งสำคัญต่อโภชนาการพื้นฐานในการบริโภค ในส่วนของแอลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ในไฟลัมเดียวกับจระเข้นั้น นอกเหนือจากการนำเนื้อมารับประทานและแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร ,การนำหนังมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและเครื่องประดับ แอลลิเกเตอร์ยังสามารถให้วัตถุดิบตั้งต้น(feedstock)สำหรับการผลิตไบโอดีเซลได้อีกด้วย นั่นคือ ไขมันที่อยู่ใต้หนังแอลลิเกเตอร์ หรือที่เรียกว่าไขมันแอลลิเกเตอร์(alligator fats) อุตสาหกรรมเนื้อแอลลิเกเตอร์ ทำการฝังกลบไขมันแอลลิเกเตอร์ทิ้งไปกว่า 15 ล้านปอนด์ต่อปี ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าไขมันดังกล่าวสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันและใช้ผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูงได้

ไบโอดีเซล(Biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันพืช เช่น ปาล์ม ไขมันสัตว์ หรือน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำปฏิกิริยาทางเคมีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นได้เป็นสารเอสเทอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันปัจจุบันในสัดส่วนร้อยละ 5-10 (B5-B10) สามารถนำมาใช้งานในเครื่องยนต์ดีเซลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์

Rakesh Bajpai นักวิจัยและผู้เขียนร่วมจากมหาวิทยาลัยหลุยเซียน่า ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาในความเป็นไปได้ของการใช้ไขมันจากแอลลิเกเตอร์เป็นเชื้อเพลิงในวารสาร Industrial & Engineering Chemistry Research โดยสำนักพิมพ์ American Chemical Society ที่ครอบคลุมสาขาวิชาเคมีและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1996 – ปัจจุบัน
ในสหรัฐอเมริกา การผลิตไบโอดีเซลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากสามารถเลือกใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย ในปี 2008 สหรัฐอเมริกาทำการผลิตไบโอดีเซลกว่า 700 ล้านแกลลอน และเพิ่มเป็นจำนวนกว่า1.8 พันล้านแกลลอนในปี 2013 โดยไบโอดีเซลส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมันถั่วเหลือง(soybean oil) เรพซีด(rapeseed) และพืชอื่นๆ
ผลจากความกังวลในการเก็บเกี่ยวพืชผลไปใช้ผลิตเชื้อเพลิงอาจส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงทำการค้นคว้าศึกษาถึงแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นทางเลือกอื่นๆ(alternative feedstocks) ซึ่งรวมไปถึง กากตะกอนน้ำเสีย(sewage sludge),ไขมันวัวจากจีน(Chinese tallow) และน้ำมันพืชใช้แล้ว (used vegetable oil)

ไบโอดีเซลผลิตได้จากไขมันและน้ำมันทุกประเภท

น้ำมันจากแอลลิเกเตอร์ประกอบไปด้วยไขมันในปริมาณสูง สามารถคืนรูปได้ด้วยคลื่นไมโครเวฟกับตัวอย่างแช่แข็ง หรือการใช้ chemical solvent อีกทั้งเปลี่ยนรูปไปเป็นไบโอดีเซลได้ง่าย อาจสามารถใช้ผสมร่วมกับน้ำมันดีเซลสำหรับใช้กับเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในวิธีการใช้คลื่นไมโครเวฟเพื่อ”เจียว(rendering)” ให้น้ำมันถึง 61% ต่อน้ำหนักไขมันแช่แข็ง ค่า lipid profile แสดงส่วนประกอบของ กรดปาล์มิติก (palmitic acid),กรดปาล์มิโตเลอิก(Palmitoleic acid), และกรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นส่วนใหญ่กว่า 89-92% ของปริมาณไขมันทั้งหมด,30% เป็นกรดไขมันอิ่มตัว(saturated fatty acids) และ 70%เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids)

ไบโอดีเซลจากน้ำมันสกัดจากไขมันแอลลิเกเตอร์ พบว่า specification ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ASTM ของไบโอดีเซล เกี่ยวกับ kinetic viscosity, sulfur, free&total glycerine, flash point, cloud point และ acid number ทั้งนี้คณะนักวิจัยจากหลุยเซียน่ากลุ่มนี้ได้วางแผนที่จะศึกษาเพิ่มเติมในวัตถุดิบตั้งต้น(feedstock)อื่นๆ อาทิ ไขมันไก่ ไขมันวัว เป็นต้น

Thomas Junk จากมหาวิทยาลัยหลุยเซียน่า ได้กล่าวว่าในช่วงเริ่มต้นการศึกษาไขมันจากแอลลิเกเตอร์ คณะทีมวิจัยได้ใช้การผลิตแบบ batch reactor แล้วเปลี่ยนเป็น flow reactor และพบว่าปฏิกิริยาการเปลี่ยนจากไขมันแอลลิเกเตอร์เป็นไบโอดีเซลสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ซึ่งถือว่าสำคัญและมีผลต่อกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมซึ่งต้องผลิตเป็นจำนวนมากโดยเร็ว เชื้อเพลิงที่ได้จากไขมันสัตว์นั้นมีความใกล้เคียงกับไบโอดีเซลผลิตจากโรงงานด้วยวิธีดั้งเดิมและเป็นที่รู้จักกันอย่างดี ไม่ต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา(catalyst) ซึ่งก่อให้เกิดเศษตกค้าง แต่เป็นการใช้ปฏิกิริยาที่สภาวะเหนือจุดวิกฤตของเมทานอล (supercritical methanol) ที่ไม่ต้องนำไขมันไปทำการสกัดก่อนเพื่อเข้ากระบวนการแต่สามารถใช้ได้ทั้งในรูปวัตถุดิบ โดยไขมันดิบ(crude fats) และเมธานอล สามารถถูกนำมาทำให้ละเอียดในรูปสารละลายข้น(slurry)ที่มีทั้งส่วนผสมของเหลวกับของแข็งและสูบเข้าสู่ระบบ โดยวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แม้การใช้ไขมันแอลลิเกเตอร์จะยังไม่มีบทบาทมากนักในอุตสาหกรรมไบโอดีเซล แต่ข้อดีจากวิธีการดังกล่าว สามารถช่วยประหยัดต้นทุนเนื่องจากเป็นการเลือกใช้วัตถุดิบตั้งต้นราคาถูกที่จัดว่าเป็นของเหลือใช้(waste product) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โอกาสของการใช้ไขมันจระเข้ในการผลิตไบโอดีเซล
จระเข้และแอลลิเกเตอร์แตกต่างกันอย่างไร? ในความเป็นจริงแล้ว จระเข้(crocodile) และ แอลลิเกเตอร์ (alligator) จัดอยู่ในไฟลัมเดียวกันคือ ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) คลาสเรปทิเลีย (Class Reptilia) แต่มีวงศ์ (Family) ที่ต่างกัน โดย จระเข้ จัดอยู่ใน Family Crocodylidae ในขณะที่ แอลลิเกเตอร์ จัดอยู่ใน Family Alligatoridae

จากการสำรวจพบว่าจระเข้ ส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ในขณะที่แอลลิเกเตอร์ส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาตั้งแต่รัฐ โคโรไลน่าไปจนถึงรัฐเท้กซัส โดยเฉลี่ยแล้วแอลลิเกเตอร์ จะมีขนาดลำตัวเล็กกว่า จระเข้ คือมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 4.5 เมตรแต่ทั้งแอลลิเกเตอร์ และ จระเข้ นั้นมีอายุเฉลี่ยนานถึง 50 ปี ทั้งนี้จระเข้และแอลลิเกเตอร์มีความเหมือนและแตกต่างกันทางกายภาพ ทั้งสองต่างมีพังพืดที่เท้าซึ่งมีส่วนช่วยให้สามารถว่ายน้ำได้ดี ความแตกต่างของจุดดำบนหนังที่ช่วยจำแนกระหว่างหนังจระเข้และหนังแอลลิเกเตอร์ ลักษณะของปากและขากรรไกร ลักษณะของฟันที่มีความแตกต่างกัน

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ในต่างประเทศได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำไขมันแอลลิเกเตอร์เหลือทิ้งมาใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งให้ผลการศึกษาเป็นที่น่าสนใจและต่อยอดสู่การพัฒนากระบวนการผลิต รวมไปถึงการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการใช้ไขมันจากสัตว์ชนิดอื่นร่วมด้วย ในส่วนของประเทศไทยที่ปัจจุบันธุรกิจฟาร์มจระเข้ได้รับความนิยมมีมากกว่าหนึ่งพันฟาร์ม และยังคงเน้นการส่งออกเนื้อจระเข้และหนังจระเข้เป็นหลัก ควรจะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงการนำไขมันจากจระเข้มาผลิตเป็นไบโอดีเซลด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันมีไขมันจระเข้เหลือทิ้งมากมายในฟาร์มจระเข้หลายแห่งทั่วประเทศไทย ที่ได้แต่ทำการฝังกลบหรือแช่แข็งเก็บรักษาไว้ ถึงแม้บางแห่งจะมีการนำมาผลิตเป็น น้ำมันจระเข้ หรือน้ำมันสกัดจากไขมันจระเข้ เพื่อเป็นวัตถุดิบเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงและดูแลถึงแม้จะมีคุณสมบัติในการบำรุง ลดอาการผิวแห้งแตกตกสะเก็ด สมานแผล ลดการเกิดรอยแผลเป็นลดอาการอักเสบ แสบร้อนระคายเคือง อีกทั้งช่วยลดเลือนริ้วรอยได้เป็นอย่างดีตามที่มีการศึกษาวิจัยและมีหลักฐานการใช้ไขมันจระเข้เป็นเครื่องยาในตำรับ “สีผึ้งบี้พระเส้น”ในตำราโอสถพระนารายณ์ บันทึกตำรายาไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องกลิ่น รูปลักษณ์ความดุร้ายของจระเข้ และกลุ่มตลาดหลักคือต่างประเทศ จีน,เกาหลี,ออสเตรเลีย,แอฟริกา,อังกฤษ น้ำมันจระเข้และไขมันจระเข้ จึงยังคงไม่ได้รับความนิยมหรือมีการศึกษาวิจัยแพร่หลายเท่าที่ควรในประเทศไทย
---------------------------------------------------------
Reference: 1.http://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7096-biodiesel
2. Potential of Alligator Fat as Source of Lipids for Biodiesel Production, Industrial & Engineering Chemistry Research 51(4) · July 2011 Rakesh K Bajpai et al.
3.บทความ ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง CROCODILE และ ALLIGATOR , สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://biology.ipst.ac.th
---------------------------------------------
ติดต่อสอบถาม,ปรึกษาการตั้งสูตรและคอนเซปต์สินค้า หรือทำแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์/เครื่องสำอางจากน้ำมันจระเข้ CROCOSIA
คุณปาริชาต (ปีโป้) ฝ่ายขายสินค้านวัตกรรม น้ำมันจระเข้, สารสกัดว่านตาลเดี่ยว,OEM เครื่องสำอางนวัตกรรม
Line ID:@obcdip,0911203369
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 8.00am-17.00pm.
---------------------------------------------
#น้ำมันจระเข้ #น้ำมันแอลลิเกเตอร์ #อัลลิเกเตอร์ #แอลลิเกเตอร์ #ไขมันจระเข้ #ไขมันแอลลิเกเตอร์ #alligatoroil #crocodileoil #crocodilefat #alligatorfat #biodiesel #ไบโอดีเซล #น้ำมันไบโอดีเซล #พลังงานสะอาด #พลังงานทางเลือก #น้ำมันสัตว์ #ไขมันสัตว์ #ทำแบรนด์เครื่องสำอาง #โรงงานเครื่องสำอาง #oem #odm #งานวิจัย #จระเข้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง

การสกัดน้ำมันสัตว์:การเจียว(Rendering)

น้ำมันจระเข้ คนจีนชอบใช้ แต่ไม่ใช่ทุกจีนที่จะรู้จัก?