น้ำมันจระเข้ กับ คุณสมบัติในการบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)


เริ่มตั้งแต่ในยุคอารยธรรมยุคอียิปต์โบราณพบว่ามีการใช้น้ำมันที่สกัดจากไขมันจระเข้ ในด้านความงามเป็นเครื่องประทินผิวและในเชิงการเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผิวหนังในมนุษย์ อาทิ สิว,ผิวอักเสบ.แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก,อาการแสบร้อนทางผิวหนังเนื่องจากแสงแดด,โรคผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีม่า(Eczema),โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) และปัญหาผิวหนังอื่นๆ


รู้จักกับ โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis)
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่ชัดเจน พบว่าถ้าบิดาและมารดาเป็นโรค บุตรที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 65-83% ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของการเกิดโรค การเกิดอาการของโรคไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีลักษณะทางพันธุกรรมของโรคสะเก็ดเงินอยู่ ถ้าหากไม่มีปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมมากระทบผู้ป่วยก็จะไม่เกิดอาการของโรค โดยปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย

ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยที่อาจทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ ด้วยสารเคมีต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องสัมผัสในชีวิตประจำวัน จุลชีพก่อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิตรวมทั้งแมลงต่างๆ ซึ่งบางครั้งมีความรุนแรง หรือร่างกายถูกกระตุ้นเพียงเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง ก็สามารถทำให้อาการของโรคกำเริบ เกิดอาการผิวหนังอักเสบขึ้นได้ อีกทั้งการแกะเกา ขูด กด เสียดสี ทำให้ผื่นของโรคสะเก็ดเงินกำเริบ และลุกลามออกไปได้ จึงมักพบผื่นของโรคสะเก็ดเงินบริเวณ ศอก เข่า ก้นกบ เพราะเป็นตำแหน่งที่มีการแกะเกาและเสียดสีมากที่สุด

ปัจจัยที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือปัจจัยภายในตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ โรคติดเชื้อซ่อนเร้นของอวัยวะภายใน การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางอย่าง เช่น ระยะที่มีประจำเดือนของสตรีเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางระดับของฮอร์โมนในร่างกาย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความเครียดจากชีวิตประจำวันและอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ โดยอาการผื่นจะกำเริบแดงขึ้น คันเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีการแกะเกามากขึ้น ทำให้อาการของโรคกำเริบและลุกลามออกไปได้

โดยสรุปโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย รวมทั้งปัจจัยทางด้านจิตใจ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคหรือส่งเสริมให้โรคที่สงบอยู่กำเริบ เป็นมากขึ้นหรือโรคยังคงเป็นอยู่และดำเนินต่อไป

เช่นเดียวกัน ยาและสารเคมีบางชนิดก็มีส่วนกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ ยาสเตียรอยด์ทั้งชนิดรับประทานและฉีด สามารถทำให้อาการของโรคสะเก็ดเงินสงบลงได้ในระยะแรกๆที่ได้รับยา แต่เมื่อใช้ไปในระยะยาวจะมีผลข้างเคียงสูงมาก เช่น ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคเบาหวานกำเริบ กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง กระดูกผุ เป็นต้น อาการผื่นผิวหนังอักเสบของโรคจะรุนแรงควบคุมได้ยาก ถ้าผู้ป่วยเกิดโรคติดเชื้อดังกล่าวแทรกซ้อนบนโรคสะเก็ดเงิน ก็สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้

ผื่นผิวหนังอักเสบของโรคสะเก็ดเงิน เกิดที่ตำแหน่งใดของผิวหนังก็ได้ ผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันได้อย่างมาก ตำแหน่งผิวหนังที่พบผื่นบ่อย ได้แก่บริเวณที่มีการเสียดสี แกะเกา เช่น ศอก เข่า แขน ขา ก้นกบ คอ ศีรษะ ลักษณะสำคัญของผื่นโรคสะเก็ดเงินคือเป็นปื้นหนา มีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงิน เมื่อแกะเกาให้สะเก็ดหลุดออก จะพบจุดเลือดออกอยู่บนผื่นผิวหนังที่อักเสบแดง การแกะเกาทำให้ตุ่มหรือปื้นผิวหนังที่อักเสบขยายวงกว้างออกหรือทำให้เกิดตุ่มผิวหนังอักเสบเกิดใหม่ตามรอยเกา นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติที่เล็บมือพบได้ถึงร้อยละ50 และเล็บเท้าพบได้ที่ร้อยละ 35 ลักษณะผิดปกติที่พบมีตั้งแต่ ผิวของเล็บเป็นหลุมเล็กๆ จนถึงเล็บผิดรูปขรุขระทั้งเล็บ ลักษณะผิดปกติที่พบนอกจากนี้ ได้แก่ เล็บหนามีขุยขาวใต้เล็บ เล็บล่อนจากพื้นเล็บ เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรง ผื่นผิวหนังอักเสบแดงจะเป็นทั่วทั้งตัว ผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดทำให้ผู้ป่วยเสียโปรตีนไปกับสะเก็ดผิวหนัง นอกจากนี้ยังเสียความร้อนในร่างกายหรือน้ำทางผิวหนังมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย หนาวสะท้านเพราะเสียความร้อนไปทางผิวหนังตลอดเวลา
---------------------------------------------------------------------------------------------
Reference: 
1. Country Folk Medicine; Tales of Skunk Oil, Sassafras Tea, and Other Old-time Remedies (2004) Elisabeth Janos. p.56 
2.การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๕ / เรื่องที่ ๙ โรคสะเก็ดเงิน / การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน 
3.รู้จักกับโรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) www.si.mahidol.ac.th/project/psoria/psoriasis.htm

--------------------------------------------------------------------------------------------
บทความนี้มิได้มุ่งหวังเพื่อการโฆษณาหรือหวังผลประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญแต่เป็นการนำเสนอข้อมูล ความเห็นและสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้น้ำมันจระเข้ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินและโรคผิวหนังอื่นๆควรเข้ารับการรักษาในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งรับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของเเพทย์อย่างเคร่งครัด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง

การสกัดน้ำมันสัตว์:การเจียว(Rendering)

น้ำมันจระเข้ คนจีนชอบใช้ แต่ไม่ใช่ทุกจีนที่จะรู้จัก?