น้ำมันจระเข้สายพันธุ์ไทย แตกต่างจากน้ำมันจระเข้สายพันธุ์อื่นหรือไม่



อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยในการวัดปริมาณกรดไขมันสำคัญในน้ำมันจากไขมันจระเข้ลุ่มน้ำไนล์(NileCrocodile: C.niloticus) และจระเข้น้ำเค็ม(C.pyrosus) เทียบกับผลวิเคราะห์น้ำมันจระเข้ CROCOSIA ซึ่งเป็นน้ำมันจากไขมันจระเข้สายพันธุ์ไทย(C.Siamnensis) พบว่ามีชนิดและปริมาณกรดไขมันสำคัญคือ กรดไขมันปาล์มมิติก(Palmitic fatty acid) ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ อ้างอิงจากงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันที่สกัดจากไขมันจระเข้สายพันธุ์ไทย(C.Siamnensis) ชื่อว่า “Crocodile oil enhances cutaneous burn wound healing and reduces scar formation in rats” โดยHua-Liang Li, PhDและคณะ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Academic Emerg Medicine เมื่อปี 2012 ได้ผลการทดลองและข้อสรุปที่ว่า ในน้ำมันจากจระเข้สายพันธุ์ไทย(C.Siamnensis) พบปริมาณกรดไขมันสำคัญเป็นส่วนใหญ่ 3 ชนิด ได้แก่ กรดไขมันปาล์มมิติก(Palmitic Acid),กรดไขมันโอเลอิก(Oleic Acid) และกรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) นอกจากนี้พบว่าน้ำมันจากจระเข้สายพันธุ์ไทยสามารถช่วยสมานแผลน้ำร้อนลวกขนาดเล็ก ให้ปิดสนิทได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม(Control)และกลุ่มที่รักษาแผลด้วย น้ำเกลือ หรือ Silver Salfadiazine อีกทั้งชั้นผิวที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีการเรียงตัวของชั้นผิวคอลลาเจนที่เป็นระเบียบ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำมันจระเข้มีฤทธิ์ควบคุมยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชั้นผิวใหม่ ลดการเกิดรอยแผลเป็น

#น้ำมันจระเข้ #จระเข้ #crocosia #crocodileoil #จระเข้ไทย #siamesecrocodile#วัตถุดิบเครื่องสำอาง #ผิวแห้ง #น้ำมันสัตว์ #สกินแคร์ #แผลเป็น #จุดด่างดำ #แผลตกสะเก็ด #สิว #รอยแผลเป็น #แผลน้ำร้อนลวก #รับจ้างผลิต #OEM #ผลิตภัณฑ์สุขภาพ #รับจ้างผลิตเครื่องสำอาง #ทำแบรนด์ครีม #ทำแบรนด์สบู่ #ทำแบรนด์เครื่องสำอาง #โรงงานผลิตครีม #โรงงานผลิตเครื่องสำอาง #ส่งออก #ฟาร์มจระเข้#อุตสาหกรรมจระเข้ #หนังจระเข้ #สมุนไพรหน้าขาว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 น้ำมันเพื่อจู๋แข็งแรง

การสกัดน้ำมันสัตว์:การเจียว(Rendering)

น้ำมันจระเข้ คนจีนชอบใช้ แต่ไม่ใช่ทุกจีนที่จะรู้จัก?