บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่สามารถพัฒนาได้จากน้ำมันจระเข้

รูปภาพ
เมื่อกล่าวถึงผลิตภัณฑ์จากน้ำมันจระเข้ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอาง และสกินแคร์ ผู้บริโภคมักจะนึกถึงและนำไปเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมันม้า จากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ที่เข้ามาก่อนหน้าและวางจำหน่ายตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม (Health & Beauty Store) อย่าง วัตสัน(Watson)และบูทส์(Boots) ด้วยคุณสมบัติที่เป็นน้ำมัน ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันและสารสำคัญที่มีประโยชน์มากมาย จึงมีการนำน้ำมันจระเข้มาประยุกต์ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงดูแลผิว โดยอุตสาหกรรมความงามในปัจจุบันนั้น ในหลายประเทศมีการใช้น้ำมันจระเข้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ความงามในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ น้ำมันบริสุทธิ์ (Pure oil) เพื่อการบำรุงผิว หรือผสานเข้ากับน้ำมันหอมระเหย(Essential oil) อาทิ โจโจ้บา ออยล์(Jojoba oil) หรือ เบาบับ ออยล์(Baobab oil) เพื่อใช้เป็นน้ำมันบำรุงผิวหน้า ครีม บาล์ม ลิปบาล์ม สบู่ น้ำมันนวด มาส์กหน้า หรือแชมพูและคอนดิชันเนอร์บำรุงหนังศรีษะ เป็นต้น

น้ำมันจระเข้ กับ คุณสมบัติในการบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

รูปภาพ
เริ่มตั้งแต่ในยุคอารยธรรมยุคอียิปต์โบราณพบว่ามีการใช้น้ำมันที่สกัดจากไขมันจระเข้ ในด้านความงามเป็นเครื่องประทินผิวและในเชิงการเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผิวหนังในมนุษย์ อาทิ สิว,ผิวอักเสบ.แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก,อาการแสบร้อนทางผิวหนังเนื่องจากแสงแดด,โรคผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีม่า( Eczema ),โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) และปัญหาผิวหนังอื่นๆ รู้จักกับ  โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่ชัดเจน พบว่าถ้าบิดาและมารดาเป็นโรค บุตรที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 65-83% ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของการเกิดโรค การเกิดอาการของโรคไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีลักษณะทางพันธุกรรมของโรคสะเก็ดเงินอยู่ ถ้าหากไม่มีปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมมากระทบผู้ป่วยก็จะไม่เกิดอาการของโรค โดยปัจจัยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยที่อาจทำให้อาการของโรคกำเริบข...

การสกัดน้ำมันสัตว์:การเจียว(Rendering)

รูปภาพ
การเจียว(Rendering) การทอดหรือเจียว (Rendering) นั้นเป็นวิธีการที่ใช้กันมากที่สุดในการสกัดไขมันและน้ำมันจากสัตว์ โดยมีเป้าหมายเพื่อแยกส่วนประกอบออกจากชั้นเนื้อเยื่อไขมันอย่างสมบูรณ์ด้วยการให้ความร้อนโดยตรง โดยอาศัยความร้อนในการใช้สลายไขมันออกจากเซลล์ของเนื้อเยื่อไขมันเพื่อให้เนื้อเยื่อไขมันแตกและปล่อยน้ำมันออกมา วิธีการนี้อาจทำให้ได้น้ำมันที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง อีกทั้งสีของน้ำมันที่ได้ขึ้นกับระดับอุณหภูมิที่ใช้ การเจียว (Rendering) สามารถกระทำได้ใน 2 แบบ คือ การเจียวแบบเปียก (Wet rendering) และการเจียวแบบแห้ง (Dry rendering)  การเจียวแบบแห้ง(Dry rendering)   เป็นวิธีการปลดปล่อยไขมันด้วยการขจัดน้ำออกจากวัตถุดิบ โดยขั้นแรกวัตถุดิบนั้นจะถูกบด หั่น จากนั้นจึงให้ความร้อนเพื่อให้ไขมันออกมาและเป็นการไล่ความชื้นออกไป กรองเพื่อระบายส่วนไขมันออกแยกส่วนของโปรตีน และกากชิ้นส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ออกไป หากเนื้อเยื่อไขมันถูกนำไปผ่านกระบวนการอย่างถูกวิธีและเหมาะสมจะส่งผลให้ได้ไขมันสัตว์ที่สามารถใช้บริโภคได้โดยไม่ต้องใช้วิธีการเพิ่มเติม ไขมันสัตว์ที่สามารถกินได้นั้นอาจต้องมีการฟอ...

การสกัดน้ำมันจระเข้ (Oil extraction from Crocodile fats)

รูปภาพ
การสกัดน้ำมัน(Oil extraction) เป็นวิธีการแยกน้ำมันจากวัตถุดิบ โดยทั่วไปแล้ววิธีการสกัดไขมันและน้ำมัน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสกัด (Extraction), การทำให้บริสุทธิ์ (Refined), การฟอกสี (Bleaching) และ การลดกลิ่น (Deodorization) โดยน้ำมันจระเข้(Crocodile oil) เป็นน้ำมันที่ได้จากการแยกน้ำมันจากวัตถุดิบคือไขมันดิบ (Crude fat) ที่ได้จากการแล่เนื้อและหนังของจระเข้ในฟาร์มเลี้ยง ซึ่งแต่เดิมนั้นไขมันจระเข้ถือเป็นผลิตภัณฑ์เหลือใช้ (Waste Product) ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากจระเข้  ขั้นตอนในการสกัดน้ำมันจากไขมันของจระเข้(Crocodile) และ อัลลิเกเตอร์ (Alligator) นั้นมิได้มีข้อกำหนดตายตัวชัดเจน ผลจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าวิธีการที่ใช้ในขั้นตอนการสกัดน้ำมันจระเข้เป็นวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปในการสกัดน้ำมันจากไขมันสัตว์ (Oil extraction from Animal fats)

น้ำมันจระเข้กับคุณสมบัติในการลดเลือนริ้วรอย (Crocodile oil with Anti-aging properties)

รูปภาพ
ผลิตภัณฑ์กลุ่มลดเลือนริ้วรอย มีคุณสมบัติในด้านการลดจำนวนริ้วรอยหรือความลึกของร่องผิว เพิ่มความชุ่มชื้นและคืนความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง โดยอาศัยคุณสมบัติของสารในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ โดยเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสภาพผิวหนัง โดยสารที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ลดเลือนริ้วรอยมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อาทิเช่น สารที่ให้ความชุ่มชื้น(Moisturizing)   เป็นการเติมน้ำและลดการสูญเสียน้ำในผิว ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นบนผิว สารที่ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและลอกชั้นผิว (Peeling skin) เช่น กรดผลไม้ที่รู้จักกันดีในชื่อ AHA และ BHA โดยมีคุณสมบัติช่วยลอกชั้นผิวเดิมและกระตุ้นการสร้างชั้นเซลล์ผิวใหม่ที่อ่อนเยาว์แทนที่  วิตามิน (Vitamins) เป็นสารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และซ่อมแซมสภาพผิวที่ถูกทำลาย ลดผิวหนังที่แห้ง หยาบกร้าน  ลอกร่อนเป็นเกล็ดและริ้วรอยเหี่ยวย่น โดยกลุ่มวิตามินที่มีบทบาทหลักในการลดเลือนริ้วรอย ได้แก่ วิตามิน A,C,E โดยวิตามินเอช่วยเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวให้เป็นปกติ วิตามินซีช่วยกระตุ้นเสริมสร้างกระบวนการสร้างคอลลาเจนแก่ผิวและต้านอนุมูลอิสระ ตัวการทำร้ายผิว ส่วนวิตามิ...

น้ำมันจระเข้ (Crocodile oil) กับคุณสมบัติในการต่อต้านริ้วรอย (Anti-aging properties)

รูปภาพ
รู้จักกับอายุผิวและการเกิดริ้วรอย (Skin ages and wrinkles)   ผิวที่แข็งแรง สุขภาพดีและดูอ่อนเยาว์สดใสอยู่เสมอ ต่างเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ผู้รักความสวยความงามมาแต่ไหนแต่ไร สมัยโบราณกาลมีการค้นคว้าหาเคล็ดลับความงามมากมายเพื่อบำรุงผิวพรรณและคงความเยาว์วัย ดังจะเห็นได้จากในบันทึกทางประวัติศาสตร์ และตำราการแพทย์แผนโบราณ อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหลากหลายประการ ทั้งอายุที่มากขึ้น สังขารที่ร่วงโรยไปตามกาลเวลา  ความแข็งแรง สุขภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง และสภาวะแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่นำพาซึ่งริ้วรอยแห่งวัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอยแห่งวัย ได้แก่   ผิวถูกทำร้ายจากแสงแดด(Sun damage) โดยเฉพาะแสงแดดในเวลากลางวันที่มีความเข้มข้นของทั้ง UVA และ UVB ในปริมาณมากสูง ทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิว ทำให้เกิดริ้วรอย สีผิวไม่สม่ำเสมอและจุดด่างดำ ซึ่งเป็นสัญญาณริ้วรอยแห่งวัยจากภายนอก ยีนพันธุกรรม(Genetic factors) เช่นเดียวกับสีผิวที่ถูกกำหนดด้วยยีนพันธุกรรม สีผิวเข้มช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด อายุที่เพิ่มมากขึ้น (Chronological agi...